Home > Register
 


การบัญชีและการตรวจสอบบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์


          การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ จะจัดประเภทเป็นธุรกิจนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อไม่สามารถเลือกแบบ หรือสั่งให้แก้ไขได้ กล่าวคือ ผู้ซื้อจะต้องซื้อตามแบบที่ผู้ขายสร้างไว้แล้วเท่านั้น เว้นแต่ การขอให้แก้ไขเล็กน้อย เช่น การเปลี่ยนสีกระเบื้อง หรือการเปลี่ยนพื้นบ้าน เป็นต้น
2 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จะจัดประเภทเป็นธุรกิจนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อสามารถเลือกแบบ หรือสั่งให้แก้ไขได้ เช่น การย้ายประตู หน้าต่าง การขยายบ้าน หรือการปรับแบบ เป็นต้น

วิธีการรับรู้รายได้ของของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
1 ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการที่เป็น NPAEs สามารถเลือกวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ ได้ 3 วิธี ได้แก่
1.1 รับรู้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์
1.2 รับรู้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion)
1.3 รับรู้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ (Installment)
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกิจการที่เป็น PAEs มาตรฐานกำหนดให้ต้องรับรู้รายได้ด้วยวิธีรับรู้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้วิธีเดียวเท่านั้น
2 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มาตรฐานกำหนดให้ต้องรับรู้รายได้ด้วยวิธีรับรู้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion) ได้วิธีเดียวเท่านั้น

ทั้งนี้ ในปี 2560 สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชีสำหรับ NPAEs แต่ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs แทน (TFRS for SMEs) ซึ่งจะมีเนื้อหาแตกต่างจากมาจากมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน ดังนี้
1 ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ ได้วิธีเดียวเท่านั้น
2 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มาตรฐานกำหนดให้ต้องรับรู้รายได้ด้วยวิธีรับรู้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion) ได้วิธีเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แนวปฏิบัติของสภาวิชาชีพบัญชีนั้นมีความแตกต่างจากแนวปฏิบัติของกรมสรรพากร กล่าวคือ
1 ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ กรมสรรพากรกำหนดให้มี 2 แนวทางในการรับรู้รายได้ ได้แก่
1) รับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แต่จะรับรู้ด้วยวิธีนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ขายสามารถสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันได้
2) ในกรณีที่เป็น PAEs ให้รับรู้ด้วยตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion) ได้วิธีเดียวเท่านั้น แต่ถ้าเป็นกิจการที่เป็น NPAEs สามารถเลือกรับรู้รายได้ได้ 2 วิธี คือ รับรู้ด้วยตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion) หรือรับรู้ตามเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ (Installment) ก็ได้
2 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง กรมสรรพากรกำหนดให้รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion) ได้วิธีเดียวเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าเป็นกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็น PAEs ซึ่งเดิมบันทึกบัญชีรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ จะมีความยุ่งยากในการปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีอากรใน ภงด.50 เพราะต้องปรับวิธีการรับรู้รายได้จากการรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ เปลี่ยนเป็นการรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion)

การตรวจสอบบัญชีเกี่ยวกับการกำหนดขั้นความสำเร็จของงาน (Percentage of Completion)
1 อัตราส่วนของต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นกับประมาณการต้นทุนทั้งหมด (Budget) ซึ่งฝ่ายบัญชีจะเป็นผู้เก็บตัวเลขต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำหนดขั้นความสำเร็จของงาน เพราะมีหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดและสามารถตรวจสอบได้ ผู้สอบบัญชีสามารถตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยใช้วิธีต่อไปนี้
1) Vouching and Tracing จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2) Analytical Review กับงบประมาณ (Budget)
3) ทดสอบการคำนวณและการบวกเลข
4) สอบถามนักบัญชีเกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชี
ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีจะต้องระวังว่า ค่าใช้จ่ายที่มีการเบิกไปซื้อของล่วงหน้าก่อนการก่อสร้างจะเริ่มจริงนั้น ไม่ได้สะท้อนเนื้องานที่ทำเสร็จจริง ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจะต้องนำเงินที่เบิกล่วงหน้านั้นมาหักออกจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนการคำนวณขั้นความสำเร็จของงาน
2 การสำรวจเนื้องานที่ได้ทำไปแล้ว ซึ่งวิธีนี้ผู้รับเหมาหรือวิศวกรจะเป็นผู้ให้ข้อมูลสัดส่วนเนื้องานที่ได้ทำไปแล้วโดยเปรียบเทียบกับแผนงานก่อสร้าง (Blue Print) ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาจากแผนงานก่อสร้างเปรียบเทียบกับเนื้องานที่ได้ทำไปแล้วว่าอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จนั้นเหมาะสมหรือไม่
3 การสำรวจทางกายภาพถึงอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา ซึ่งวิศวกรจะเป็นผู้ประเมินอัตราส่วนดังกล่าวให้กับกิจการโดยดูเนื้องานที่หน้างานแล้วบอกว่าตอนนี้ก่อสร้างเสร็จไปแล้วเท่าไร ในทางทฤษฎีแล้ววิธีนี้ไม่เหมาะสมที่สุดเพราะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเล่นตัวเลขทางบัญชีได้ง่าย แต่ในทางปฏิบัติแล้ววิธีนี้กลับได้รับความนิยมที่สุด ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจะต้องให้ความระมัดระวังกับการตรวจสอบมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ประกอบการใช้วิศวกรประจำบริษัทเป็นผู้ประเมินแล้ว ยิ่งทำให้หลักฐานที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด ผู้สอบบัญชีอาจขอให้ผู้ประกอบการใช้วิศวกรภายนอกเป็นผู้ประเมินเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของหลักฐานก็ได้ นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีจะต้องไปดูหน้างานด้วยเพื่อสำรวจผลสำเร็จของงานทางกายภาพร่วมกับวิศวกร
from http://km.bus.ubu.ac.th


 


เรื่อง สมุดบัญชีเล่มเดียวกับผลประโยชน์ทางภาษีอากร


          ตอนที่ 1 ผู้ประกอบการที่จะได้รับประโยชน์จากการจดแจ้งบัญชีเล่มเดียวกับกรมสรรพากร
สวัสดีครับ วันนี้เดอะเบสท์ แอสโซซิเอทส์ แอคเคาท์ติ้ง จำกัด กลับมาพบกับผู้อ่านอีกเช่นเคย ในประเด็นร้อนที่คนในวงธุรกิจกำลังให้ความสนใจกันอยู่ นั่นคือเรื่องที่กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรีบมาลงชื่อจดแจ้งใช้บัญชีเล่มเดียวเพื่อขอใช้สิทธิทางภาษีตั้งแต่บัดนี้จนถึง 15 มีนาคนนี้เท่านั้น โดยกรมสรรพากรเน้นว่านี่คือช่วงโปรโมชั่นครั้งแรกครั้งเดียว หมดแล้วหมดเลย ดังนั้นเดอะเบสท์ไม่รอช้าที่จะมาพูดคุยรายละเอียดในเรื่องนี้กันครับ แต่เรื่องนี้มีหลายประเด็น จึงขอแบ่งเป็น 3 ตอนครับ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในแต่ละส่วนครับ
ก่อนที่จะไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ประกอบการ ต้องเข้าใจก่อนว่า เป้าหมายของการออกกฎหมายนี้เพื่อช่วยผู้ประกอบการรายเก่า ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่ต้องรอกฎหมายอื่นครับ เพื่อตัดคำถามว่าช่วยผู้ประกอบการรายใหม่ด้วยหรือเปล่า เพราะคำตอบคือไม่ได้ช่วยครับ
กฎหมายที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเก่า มีอยู่สองกฎหมาย คือ พระราชกำหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. ๒๕๕๘ และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๙๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่ต้องระบุกฎหมายนี้ให้ชัดเจน เพราะกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันหรือมาร่วมด้วยช่วยกันนะครับ ที่จริงแล้วแต่ละกฎหมายต่างทำหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เข้าเกณฑ์จะได้รับความช่วยเหลือครับ สิ่งที่ทำให้คนทำบัญชีสับสนเกิดจากการอ่านหรือรับฟังข้อสรุปในเรื่องคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่เข้าเกณฑ์และผลประโยชน์ที่ได้รับจากกฎหมายทั้งสองฉบับไปพร้อมๆกัน เลยจับมาผสมกันจนยุ่ง แยกไม่ถูกว่าอันไหนเป็นอันไหนครับ การจะทำความเข้าใจจึงต้องกลับไปดูตัวบทกฎหมายแต่ละฉบับแยกออกจากกันครับ โดยเริ่มจากต้องรู้ก่อนว่ากฎหมายแต่ละฉบับช่วยอย่างไร แล้วจึงไปพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบที่เข้าเกณฑ์
กฎหมายแต่ละฉบับช่วย ดังนี้
พระราชกำหนด ช่วยให้ผู้ประกอบการรอดพ้นจากการขุดคุ้ยความผิดเก่าทางภาษีในรอบบัญชีปี 2558 ขึ้นไปจนถึงรอบบัญชีปีจัดตั้งบริษัท ดังนั้นบริษัทดำเนินกิจการมานานจะได้ประโยชน์มาก ส่วนบริษัทพึ่งจัดตั้งแทบไม่ได้ประโยชน์
พระราชกฤษฎีกา ช่วยยกเว้นภาษีในรอบบัญชีปี 2559 และลดอัตราภาษีในรอบบัญชีปี 2560 ช่วยบริษัทแค่สองปีเท่านั้น
ตอนนี้คงเห็นประโยชน์ที่แตกต่างกันจากกฎหมายแต่ละฉบับแล้วนะครับ

คุณสมบัติผู้ประกอบการที่เข้าเกณฑ์ ผมได้กล่าวไว้ตอนต้นว่ากฎหมายนี้ออกมาช่วยผู้ประกอบการรายเก่า แต่ไม่ได้ช่วยผู้ประกอบการรายเก่าทุกคนนะครับ ช่วยเพียงแค่ผู้ประกอบที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน และคุณสมบัติเฉพาะในสามกลุ่มนี้เท่านั้นครับจึงจะเข้ารอบการประกวด
คุณสมบัติพื้นฐาน คือ เป็นผู้ประกอบการต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้นและเสียภาษีตามฐานกำไรสุทธิ (ภ.ง.ด.๕๐) นั่นคือกลุ่มบริษัทมหาชน บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ส่วนสมาคม มูลนิธิ บริษัทต่างประเทศรับขนส่งระหว่างประเทศ เสียภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย ถูกตัดออกตกรอบแรกไป
คุณสมบัติเฉพาะ คือ
กลุ่มแรก คือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้ไม่เกินห้าร้อยล้านบาทที่เกิดขึ้น ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาและมีกำหนดครบสิบสองเดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ก่อนหรือในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (คุณสมบัติตามเกณฑ์พระราชกำหนด)
จำให้แม่นนะครับว่าใช้รายได้ตามนิยามประมวลกฎหมายรัษฎากร โดยคิดจากผลรวมรายได้จากกิจการบวกรายได้อื่นบวกรายได้ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร (รายได้ทางภาษี) เฉพาะสามส่วนนี้รวมกันเท่านั้นตามหลักเกณฑ์สิทธิ์ ในส่วนบวกกลับหักออกไม่ถือเป็นรายได้ ก้อคือตัวเลขในแบบแสดงการเสียภาษีนั่นแหล่ะครับเอามาบวกกัน
อีกส่วนหนึ่งรายได้ต้องคิดจากรอบบัญชีครบสิบสองเดือนที่ผ่านมาไม่ใช่รอบบัญชีปัจจุบันหรือรอบบัญชีในอนาคตนะครับ เพื่อให้เข้าใจขอยกเป็นตัวอย่างเพื่อแสดงวิธีการนับรอบบัญชีครับ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เพิ่งจัดตั้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 มาถึงตอนนี้หมดสิทธิ์ตกรอบสอง เพราะมีแต่รอบบัญชีปัจจุบันเพียงอย่างเดียว รอบบัญชีปัจจุบันคือรอบบัญชีที่มีวันที่ 1 มกราคม 2559 อยู่ในรอบบัญชีนั้น (ในตัวบทให้วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นวันสุดท้ายสำหรับรอบบัญชีที่ผ่านมา)
คำว่ารอบบัญชีที่ที่ผ่านมาหมายถึงรอบบัญชีในอดีตรอบล่าสุด และมีกำหนดครบสิบสองเดือน พูดแบบภาษาชาวบ้านคือจากรอบปัจจุบันขณะนี้ ให้ย้อนไปดูรอบบัญชีก่อนรอบปัจจุบันว่าครบ 12 เดือน ถ้าครบนั่นแหล่ะรอบบัญชีในอดีตรอบล่าสุดที่ครบ 12 เดือน แต่ถ้ารอบบัญชีก่อนรอบปัจจุบันไม่ครบ 12 เดือน ก้อให้ย้อนไปดูรอบบัญชีเก่ากว่านี้ขึ้นไปอีกรอบว่าครบ 12 เดือน ถ้าครบนั่นแหล่ะรอบบัญชีในอดีตรอบล่าสุดที่ครบ 12 เดือน ถ้าไม่ครบ ก้อให้ย้อนไปดูรอบบัญชีเก่ากว่านี้ขึ้นไปอีกรอบ จนกว่าจะเจอรอบ 12 เดือนนั่นแหล่ะครับ ตัวอย่างเช่น
บริษัทตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปี 2557แ ละขอมีรอบบัญชี 1 เมษายน – 31 มีนาคม ดังนั้นรอบบัญชีรอบแรกคือ 1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558 รอบบัญชีถัดมาคือ1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559 จะเห็นว่ารอบหลังเป็นรอบบัญชีปัจจุบันเพราะมีวันที่ 1 มกราคม 2559 รวมอยู่ด้วย ย้อนขึ้นไปก่อนรอบบัญชีปัจจุบันจึงเป็นรอบบัญชีที่ผ่านมา นับดูแล้วครบ 12 เดือนเต็ม จึงเป็นรอบบัญชีในอดีตรอบล่าสุดที่ครบ 12 เดือน กรณีนี้รอลุ้นเข้ารอบโดยดูว่ารายได้เกิน 500 ล้านบาทหรือไม่
บริษัทตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปี 2557 แต่ทำเรื่องขอเปลี่ยนรอบบัญชีภายหลัง ทำให้ รอบบัญชีแรกเริ่ม 1 เมษายน 2557 – 31 มกราคม 2558 ดังนั้นรอบบัญชีถัดมาใช้ตามที่ขอใหม่เป็น 1 กุมภาพันธ์ 2558 – 31 มกราคม 2559 จะเห็นว่ารอบหลังเป็นรอบบัญชีปัจจุบันเพราะมีวันที่ 1 มกราคม 2559 รวมอยู่ด้วย ย้อนขึ้นไปก่อนรอบบัญชีปัจจุบันจึงเป็นรอบบัญชีที่ผ่านมา นับดูแล้วมีแค่ 10 เดือน ย้อนไปอีกไม่ได้แล้วเพราะบริษัทพึ่งตั้งกิจการ อันนี้ตกรอบสามทันทีโดยไม่ต้องดูรายได้เป็นเท่าไร
กลุ่มผู้ประกอบการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายไม่ถูกเขี่ยตกรอบ จะได้รับรางวัลคือผลประโยชน์จากกฎหมายพระราชกำหนดที่ผมเขียนไว้ข้างต้นคับ นั่นคือ ไม่ถูกสรรพากรไล่ล่าขุดคุ้ยความผิดเก่า
กลุ่มสอง คือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เกินสามสิบล้านบาท
(คุณสมบัติตามเกณฑ์พระราชกฤษฎีกา นั่นคือกลุ่ม SME )
เห็นเกณฑ์ในการตัดสินผู้ประกอบการรายเก่าที่จะเข้ากลุ่มนี้ จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายเกณฑ์กลุ่มแรกแต่ไม่เหมือน นี่แหล่ะครับที่เป็นสาเหตุให้คนทำบัญชีสับสน เพราะความคล้ายแต่ไม่เหมือนนี่แหล่ะ
สาระที่ต้องสนใจ คือทุนที่ชำระแล้ว หมายถึงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ใช่ทุนจดทะเบียนบริษัทนะครับ และที่ต้องย้ำคือรายได้ให้ใช้ตามนิยามในพระราชกฤษฎีกาไม่ใช่ประมวลกฎหมายรัษฎากรนะครับ ในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีจะดูย้อนกลับเพื่อหาว่ามีรอบบัญชีไหนที่มีรายได้เกินสามสิบล้านแค่นั้น ไม่ต้องสนใจเรื่องจำนวนเดือนในรอบบัญชี
กลุ่มสองจะต้องมีคุณสมบัติครบสองข้อ คือ นับแต่ก่อตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดมา ทุนที่ชำระแล้วไม่เกินห้าล้านบาทในทุกรอบบัญชีและรายได้ไม่เกินสามสิบล้านบาทในทุกรอบบัญชี สรุปคือสรรพากรเห็นทุนน้อยและรายได้น้อยต้องช่วยมากหน่อย
ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบกลุ่มนี้มีสองคุณสมบัติ จึงรับรางวัลสองเท่า คือผลประโยชน์จากกฎหมายพระราชกำหนด นั่นคือ ไม่ถูกสรรพากรไล่ล่าขุดคุ้ยความผิดเก่าและผลประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกา นั่นคือ ยกเว้นภาษีในรอบบัญชีปี 2559 และลดอัตราภาษีในรอบบัญชีปี 2560
กลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มที่มีคุณสมบัติไม่ครบสองข้อ ทำให้ไม่สามารถจัดเป็นกลุ่มที่สอง เลยต้องมาเป็นกลุ่มที่สาม คืออาจจะมีทุนชำระเกินห้าล้านหรือมีรายได้เกินสามสิบล้านบาทในรอบบัญชีไหนสักรอบ สรรพากรสรุปดื้อๆว่ารวยแล้วต้องลดการช่วยเหลือ
ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบกลุ่มสุดท้ายจึงเหลือแค่ คือผลประโยชน์จากกฎหมายพระราชกำหนด นั่นคือ ไม่ถูกสรรพากรไล่ล่าขุดคุ้ยความผิดเก่า ไม่ลดหย่อนเรื่องภาษีเสียเต็ม
ข้อที่ต้องจำไว้ในเรื่องกลุ่มที่สาม หากรอบบัญชีไหนเกิดขาดคุณสมบัติใดในสองข้อ แต่รอบบัญชีอื่นๆหลังจากนั้นมีคุณสมบัติครบสองข้อ ก้อไม่สามารถกลับเข้ากลุ่มที่สองได้อีกแล้ว พูดง่ายคือเลิกรักไปแล้วไม่ขอคืนดี

แล้วพบกันใหม่คราวหน้าในตอนที่ 2 สรรพากรให้ผลประโยชน์จริงหรือว่าสับขาหลอก



 


สาระการเปลี่ยนแปลงทางมาตรฐานการบัญชีมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7


          พบกันอีกเช่นเคยครับ วันนี้เดอะเบสท์ แอสโซซิเอทส์ แอคเคาท์ติ้ง จำกัด จะมาดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่องงบกระแสเงินสด ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 และจะมีผลบังคับใช้รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 นี้นั่นเอง บางท่านที่ติดตามมาอาจจะสงสัยว่าแล้วมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 3 – 6 หายไปไหน ที่จริงไม่ได้หายไปไหน แต่เพราะไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่อย่างใดในปี 2528 ครับ จึงขอข้ามไป
สาระสำคัญของมาตรฐานฉบับที่ 7 นี้ยังคงใช้ข้อความตามมาตรฐานฉบับปรับปรุงปี 2527 อยู่นั่นเอง เพียงแต่เปลี่ยน พ.ศ. มาตรฐานการบัญชีที่ฉบับนี้ใช้อ้างอิงถึง อย่างไรก็ดี มาตรฐานฉบับนี้ได้มีการปรับปรุง ด้วยการกำหนดข้อยกเว้นให้กับกิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนที่เข้าข่าย เพื่อให้การจัดทำงบกระแสเงินสดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
กิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนที่เข้าข่ายลักษณะดังนี้ คือมีการลงทุนในบริษัทย่อย และวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นผู้จัดทำงบกระแสเงินสดควรมีความเข้าใจในเนื้อหาในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่องงบการรวม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในกิจการอื่น และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะ กิจการ ซึ่งทั้งสามฉบับนี้ได้ปรับปรุงในปี 2528 นี้เช่นกัน

ข้อยกเว้นให้กับกิจการที่ดำเนินธุรกิจการลงทุนที่ลงทุนในบริษัทย่อยและวัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน
1. ไม่ต้องเปิดเผยจำนวนเงินสดและสิ่งเทียบเท่าเงินสด สินทรัพย์และหนี้สินในบริษัทย่อยหรือธุรกิจอื่นที่ได้มาซึ่งการควบคุมหรือสูญเสียการควบคุม (ข้อ 40ก)
2. กระแสเงินสดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้มีผลทำให้สูญเสียการควบคุมไป ไม่ต้องจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (ข้อ 42ก)
3. การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้มีผลทำให้สูญเสียการควบคุม เช่น การซื้อหรือขายตราสารทุนของบริษัทโดยบริษัทใหญ่ในภายหลัง ไม่ถือเป็นรายการในส่วน ของเจ้าของ (ข้อ 42ข)
ท้ายนี้ ข้อยกเว้นสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนนั้น แม้จะมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป แต่หากกิจการนั้นมีความพร้อม สามารถนำหลักเกณฑ์ไปปรับปรุงในการนำเสนองบกระแสเงินสดได้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ครับ แล้วพบกันคราวหน้าคับเรื่องของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8
สาระการเปลี่ยนแปลงทางมาตรฐานการบัญชี
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7
พบกันอีกเช่นเคยครับ วันนี้เดอะเบสท์ แอสโซซิเอทส์ แอคเคาท์ติ้ง จำกัด จะมาดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่องงบกระแสเงินสด ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 และจะมีผลบังคับใช้รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 นี้นั่นเอง บางท่านที่ติดตามมาอาจจะสงสัยว่าแล้วมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 3 – 6 หายไปไหน ที่จริงไม่ได้หายไปไหน แต่เพราะไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่อย่างใดในปี 2528 ครับ จึงขอข้ามไป
สาระสำคัญของมาตรฐานฉบับที่ 7 นี้ยังคงใช้ข้อความตามมาตรฐานฉบับปรับปรุงปี 2527 อยู่นั่นเอง เพียงแต่เปลี่ยน พ.ศ. มาตรฐานการบัญชีที่ฉบับนี้ใช้อ้างอิงถึง อย่างไรก็ดี มาตรฐานฉบับนี้ได้มีการปรับปรุง ด้วยการกำหนดข้อยกเว้นให้กับกิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนที่เข้าข่าย เพื่อให้การจัดทำงบกระแสเงินสดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
กิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนที่เข้าข่ายลักษณะดังนี้ คือมีการลงทุนในบริษัทย่อย และวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นผู้จัดทำงบกระแสเงินสดควรมีความเข้าใจในเนื้อหาในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่องงบการรวม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในกิจการอื่น และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะ กิจการ ซึ่งทั้งสามฉบับนี้ได้ปรับปรุงในปี 2528 นี้เช่นกัน

ข้อยกเว้นให้กับกิจการที่ดำเนินธุรกิจการลงทุนที่ลงทุนในบริษัทย่อยและวัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน
1. ไม่ต้องเปิดเผยจำนวนเงินสดและสิ่งเทียบเท่าเงินสด สินทรัพย์และหนี้สินในบริษัทย่อยหรือธุรกิจอื่นที่ได้มาซึ่งการควบคุมหรือสูญเสียการควบคุม (ข้อ 40ก)
2. กระแสเงินสดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้มีผลทำให้สูญเสียการควบคุมไป ไม่ต้องจัดประเภทเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (ข้อ 42ก)
3. การเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียในความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้มีผลทำให้สูญเสียการควบคุม เช่น การซื้อหรือขายตราสารทุนของบริษัทโดยบริษัทใหญ่ในภายหลัง ไม่ถือเป็นรายการในส่วน ของเจ้าของ (ข้อ 42ข)
ท้ายนี้ ข้อยกเว้นสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนนั้น แม้จะมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป แต่หากกิจการนั้นมีความพร้อม สามารถนำหลักเกณฑ์ไปปรับปรุงในการนำเสนองบกระแสเงินสดได้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ครับ แล้วพบกันคราวหน้าคับเรื่องของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8
THE BEST ASSOCIATED ACCOUNTING CO.,LTD.



 


สาระการเปลี่ยนแปลงทางมาตรฐานการบัญชีมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2


          ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่องสินค้าคงเหลือ ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 และจะมีผลบังคับใช้รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 นี้นั่นเอง
สาระสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้มีเนื้อหาไม่ต่างไปจากฉบับปรับปรุงปี 2557 โดยจะเป็นการแก้ไข ตัวเลข พ.ศ. ที่มาตรฐานฉบับนี้ใช้อ้างอิงถึงมาตรฐานฉบับอื่นที่ปรับปรุงไปแล้วในปีนี้นั่นเอง แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้าคับ
THE BEST ASSOCIATED ACCOUNTING CO.,LTD.


 


สาระการเปลี่ยนแปลงทางมาตรฐานการบัญชีมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1


          พบกันอีกเช่นเคยคับ วันนี้เดอะเบสท์ แอสโซซิเอทส์ แอคเคาท์ติ้ง จำกัด ก้อนำเสนอสาระบัญชีมาฝากผุ้อ่านอีกเช่นเคยครับ เริ่มกันที่มาตรฐานการบัญชีกันเลยครับ ก้ออย่างที่ทราบกันคับว่า ปี 2558 มีการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีกันหลายสิบฉบับทีเดียวต่อเนื่องมาจากปีก่อนหน้า ดังนั้นวันนี้เราจะมาเริ่มกันที่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 และจะมีผลบังคับใช้รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 นี้นั่นเอง
สาระสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้มีเนื้อหาแทบจะไม่มีกรแก้ไขข้อความให้ต่างไปจากฉบับปรับปรุงปี 2557 เลย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ไข ตัวเลข พ.ศ. ที่มาตรฐานฉบับนี้อ้างอิงถึงมาตรฐานฉบับอื่นที่ปรับปรุงไปแล้วในปีนี้นั่นเอง อย่างไรก็ดี ได้มีการยกเลิกบางบทนำและแก้ไขในส่วนส่วนบทนำที่หลงเหลืออยู่ โดยมุ่งกำหนดกรอบช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินจำแนกรายได้และรายจ่ายชัดเจนขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานถูกต้องยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ในหมวดส่วนเของเจ้าของ แยกตัวเลขรายการที่เกิดกับผู้เป็นเจ้าของกับรายการที่ไม่ได้เกิดกับผู้เป็นเจ้าของออกจากกัน จัดสรรส่วนที่เป็นกำไรหรือขาดทุนในส่วนที่อยู่ในกำไรขาดทุนและส่วนที่อยู่กำไรเบ็ดเสร็จอื่นออกจากกัน แสดงภาษีในแต่ละส่วนของกำไรเบ็ดเสร็จอื่น เพราะอัตราภาษีมักไม่เท่ากัน และการปรับปรุงรายการในกำไรเบ็ดเสร็จอื่นให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ในส่วนนิยามได้มีการให้นิยามศัพท์เพิ่มขึ้นอีกหลายคำ เพื่อขจัดปัญหาความเข้าใจไม่ตรงกัน
กล่าวโดยสรุป มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 มีเป้าหมายเพื่อช่วยผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจตัวเลขต่างๆในงบการเงินได้ชัดเขนขึ้น เพื่อนำไปวิเคราะห์ผลประกอบการได้อย่างถูกต้องครับ แล้วพบกันคราวหน้าคับเรื่องของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2
THE BEST ASSOCIATED ACCOUNTING CO.,LTD.


 


สาระสำคัญการปรับปรุงการรายงานเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่จะใช้ในต้นปี 2559


          สวัสดีครับคุณผู้อ่าน พบกันอีกเช่นเคยกับสาระดีๆทางบัญชีที่ทางสำนักงานบัญชี TheBest ค้นคว้านำมาเสนออยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ท่านเจ้าของกิจการมั่นใจว่าการจัดทำงบการเงินในกิจการของท่านจะถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มาครั้งนี้ก็ตามหัวข้อข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 10 เรื่องเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ฉบับปรุงปรุงปี 2558 แทนฉบับปรับปรุงปี 2557 ที่ใช้กันอยู่ขณะนี้ โดยจะเริ่มมีผลบังตับใช้สำหรับงบการเงินในรอบระยะบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
สาระสำคัญฉบับปรับปรุงใหม่ที่จะใช้ในต้นปีที่จะถึงนี้ คือ
1. การปรับถ้อยคำในเรื่องการใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่องในกรณีมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าข้อสมมุตินั้นไม่เหมาะสม จากเดิมที่ใช้คำว่า “กิจการต้องไม่จัดทำงบการเงินโดยใช้เกณฑ์การดําเนินงาน ต่อเนื่อง…” มาเป็น “กิจการไม่ควรจัดทำงบการเงิน’...“
2. การนำข้อกำหนดตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ร่วมกับมาตรฐานบัญชีฉบับนี้ ดังนี้
• ประมาณการหนี้สินและสินทรัพย์ต่างๆ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37
• ผลประโยชน์พนักงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19
• การนำเสนองบการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1
• รายการที่มีผลกระทบต่อหุ้นสามัญ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33
• ข้อกำหนดทางภาษี มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12
• การรวมธุรกิจที่สําคัญ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 3
• สินทรัพย์ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 5
โดยให้ใช้ฉบับปรับปรุงปี 2558 แทนฉบับปี 2557 ที่ใช้กันอยู่ขณะนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ลงประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ไปพร้อมกันในต้นปีหน้าครับ แล้วพบกันกับสาระดีๆทางบัญชีในครั้งต่อไปครับ
THE BEST ASSOCIATED ACCOUNTING CO.,LTD.


 


บอกลากันทีกับการยื่นงบการเงินฉบับเอกสาร


          ไม่ทราบว่าตอนนี้ยังมีนิติบุคคลรายไหนที่ยังไม่ได้ขอ username และ password จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ที่แน่ๆต้องไม่ใช่นิติบุคคลที่ไว้วางใจให้สำนักงาน Thebest ดูแลงานด้านบัญชีอย่างแน่นอน เพราะเราดำเนินการทุกอย่างตั้งแต่เนิ่นๆ
ทำไมนิติบุคคลต้องขอ username และ password จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำตอบคือนับแต่นี้เป็นต้นไป ทางกรมพัฒนาธุรการค้าจะให้นิติบุคคลทุกรายยื่นงบการเงินผ่านทางอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเรียกว่า การยื่นผ่านระบบ e-Filling แทนการยื่นงบการเงินฉบับเอกสารอย่างที่เคยยื่นในอดีต โดยต้องยื่นภายในวันที่ ภายใน 31 พฤษภาคม 2559 สำหรับรายที่ยังไม่พร้อมจะยื่นงบการเงินผ่านทางระบบนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอนุโลมให้ยื่นงบการเงินฉบับเอกสารไปก่อนภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 และต้องยื่นฉบับอิเลคทรอนิกส์ผ่านทางระบบ e-Filling ซ้ำอีกครั้งภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559
รายละเอียดขั้นตอนการขอ usename และ password ตลอดจนเอกสารที่ต้องใช้ให้ดูที่
THE BEST ASSOCIATED ACCOUNTING CO.,LTD.
http://www.dbd.go.th/download/article/article_20150922105700.jpg



 


หนทางใหม่ของธุรกิจ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งทุน !!!


          สำนักงานบัญชี thebest เชื่อว่ายังมีเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่ไม่ทราบข่าวว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 58 ที่ผ่านมานี้เอง ได้มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป
กฎหมายนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเจ้าของธุรกิจ SMEs (ที่เตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ) เพื่อรอเวลาใช้สิทธิกู้เงินทันทีที่กฎหมายนี้บังคับใช้ เพื่อไม่ให้ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง เพราะเพื่อนเขากู้กันไปหมดแล้ว เรายังต้องใช้เวลาปรับปรุงกิจการให้เข้าเกณฑ์ผู้มีสิทธิอยู่นั่นแหล่ะ
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ
‘…เมื่อผู้ให้หลักประกัน (ผู้ประกอบธุรกิจ) ต้องการจะขอกู้เงินจากผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน) เพื่อนำมาใช้ในกิจการ กฎหมายฉบับนี้ปลดล็อกข้อจำกัดของการจำนองโดย ‘ขยายประเภททรัพย์สิน’ ที่จะนำมาใช้เป็นหลักประกัน ครอบคลุมรวมไปถึงกิจการ สิทธิเรียกร้อง สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินทางปัญญา และ ‘ไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สิน’ ที่นำมาเป็นหลักประกันอีกต่อไป แตกต่างจากการนำทรัพย์สินไปจำนำเช่นในอดีต ทำให้ธุรกิจยังสามารถเดินหน้าสร้างรายได้ด้วยการใช้ทรัพย์สินนั้นผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างต่อเนื่อง นับว่ากฎหมายฉบับนี้จะเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่ช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนยิ่งขึ้น เพื่อจะได้นำไปต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อันจะเป็นการเพิ่มความสามารถและศักยภาพการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลกอีกทางหนึ่งด้วย…”
แหล่งที่มา กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ฉบับที่ 118/ 3 ธันวาคม 2558
พูดง่ายๆคือ แต่เดิมธุรกิจ SME จะไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน อาทิเช่น ธนาคาร ผู้กู้มักพบอุปสรรคเพราะธนาคารมักเรียกให้วางทรัพย์สินไว้เป็นหลักประกัน ตลอดจนข้อจำกัดเรื่องประเภททรัพย์สินที่ยอมรับเป็นหลักประกัน กฎหมายใหม่นี้จะเข้ามาช่วยธุรกิจ SMEs โดยขยายประเภททรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันได้ และที่ดีกว่านั้นไปอีกคือเปิดช่องทางให้เอาทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ต้องส่งมอบให้สถาบันเก็บไว้ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจ SMEs จึงสามารถนำอากิจการหรือสินค้าคงคลังที่เป็นประกันไปทำประโยชน์ให้กิจการได้อีกด้วย
ถึงตอนนี้ท่านเจ้าของธุรกิจ SME คงเห็นประโยชน์กันแล้วนะครับ อ้อ ทางกรมพัฒนาธุรกิจเขาฝากเตือนมาด้วยว่า ท่านเจ้าของธุรกิจ SME ที่อยากจะได้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องบริหารกิจการของท่านให้ถูกต้องด้วย ซึ่งไม่พ้นเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่วางไว้
หากท่านสงสัยไม่แน่ใจว่ากิจการของท่านพร้อมบริบูรณ์หรือยังมีข้อบกพร่องซุกซ่อนอยู่ ซึ่งอาจทำให้ท่านพลาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามเงื่อนไขใหม่ ทางสำนักงานบัญชี ของเราซึ่งบริหารงานโดยนักบัญชีไฟแรงที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากร ทำให้ท่านมั่นใจว่าจะตอบข้อสงสัยท่านได้ทุกประการ ยินดีให้คำปรึกษาครับ
THE BEST ASSOCIATED ACCOUNTING CO.,LTD.



 


เตรียมตัวกันให้ดี สัญญาเช่าฉบับใหม่ เร็ว ๆ นี้


          อีกไม่นานเกินรอเมื่อ IASB ตัดสินใจที่จะยกเลิกการจำแนกสัญญาเช่าออกเป็นสัญญาเช่าการเงิน และสัญญาเช่าดำเนินงาน แถมยกเลิก IAS 17 ที่ใช้มานมนาน และเปลี่ยนไปสู่มาตรฐานฯ ฉบับใหม่ที่เรียกว่า IFRS 16 แทนว่าด้วยสัญญาเช่าเหมือนเดิม แต่ข้อกำหนดทางบัญชีเปลี่ยนไป กล่าวคือในอนาคตหากสัญญาเช่าใดมีอายุเกิน 12 เดือนแล้วละก็(หรือแม้จะมีอายุไม่เกิน 12 เดือนแต่หากมีการให้สิทธิในการต่อสัญญา) ผู้เช่าไม่ต้องคิดมาก ยังไงผู้เช่าก็ต้องนำสัญญาเช่ามารับรู้เป็นสินทรัพย์ในรูปสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่เช่า (ROU: Right of Use) พร้อมหนี้สินที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าการรับรู้รายการแทบไม่แตกต่างจากการรับรู้สัญญาเช่าการเงินในอดีต เรียกกันว่า IASB กำลังจะพยายามจะต้อนให้สินทรัพย์และหนี้สินที่เคยอยู่นอกงบแสดงฐานะการเงินได้รับการมีที่มีทางเสียทีอย่างเป็นทางการในงบแสดงฐานะการเงิน และสอดคล้องกับคำนิยามของสินทรัพย์และหนี้สินที่กำลังจะมีการแก้ไขใหม่โดย IASB ทั้งนี้ก็เพื่อผูกมัดให้สัญญาเช่าที่เคยอยู่นอกงบแสดงฐานะการเงินมานานได้รับการรับรู้อย่างถูกต้องและโปร่งใส อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการมองเห็นฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจการ

อาจารย์ วรศักดิ์


 


การส่งหนังสือยืนยันยอดธนาคาร


          การส่งหนังสือยืนยันยอดคงเหลือ ณ สิ้นงวดบัญชีไปยังธนาคารและสถาบันการเงิน เป็นวิธีการตรวจสอบที่สำคัญตามมาตรฐานการสอบบัญชี และเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญในการสอบบัญชีเพื่อยืนยันถึงความมีอยู่จริง กรรมสิทธิ์ ข้อผูกพัน ความครบถ้วน และความถูกต้องของจำนวนเงินหรือรายการที่บริษัทได้ทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินต่างๆ ณ วันสิ้นงวดบัญชี ทั้งนี้บางบริษัทอาจมีการทำหลายธุรกรรมกับหลายสาขาของสถาบันการเงินนั้นๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้สอบบัญชีส่งหนังสือยืนยันยอดด้วยตนเองตรงไปยังสำนักงานใหญ่ของแต่ละสถาบันการเงินแทนที่จะส่งไปยังสาขาของสถาบันการเงินที่บริษัททำธุรกรรมด้วย เพื่อที่ผู้สอบบัญชีจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนไม่ว่าบริษัทนั้นจะทำธุรกรรมกับสาขาใดของแต่ละสถาบันการเงินก็ตาม รวมทั้งต้องได้รับหนังสือตอบกลับโดยตรงจากสถาบันการเงินด้ว

แหล่งที่มา : http://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539889891&Ntype=30